เมนู

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยังพระธรรมเสนาบดี ให้
ยินยอมอย่างนั้นแล้ว ทรงยับยั้งอยู่ตลอดพรรษานั้นในเมืองเวรัญชา เสด็จออก
พรรษาปวารณาในวันมหาปวารณาแล้ว จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์มา.
บทว่า อามนฺเตสิ ความว่า ได้ทรงเรียก คือได้ทรงตรัสเรียก
ได้แก่ ทรงเตือนให้รู้.
ถามว่า ทรงเตือนให้รู้ว่าอย่างไร ?
แก้ว่า ทรงเตือนให้รู้เรื่องมีอาทิอย่างนี้ว่า อาจิณฺณํ โข ปเนตํ.
บทว่า อาจิณฺณํ คือเป็นความประพฤติ เป็นธรรมเนียม ได้แก่
เป็นธรรมดา.

[อาจิณณะ ความเคยประพฤติมามี 2 อย่าง]


ก็ความเคยประพฤติมานั้นนั่นแล มี 2 อย่าง คือ พุทธาจิณณะ
(ความเคยประพฤติมาของพระพุทธเจ้า) 1 สาวกาจิณณะ (ความเคยประพฤติ
มาของพระสาวก) 1.
พุทธาจิณณะ (ความเคยประพฤติมาของพระพุทธเจ้า) เป็นไฉน ?
ข้อว่า พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลา คือยังมิได้อำลาผู้ที่นิมนต์ให้อยู่จำ
พรรษาแล้ว จะไม่หลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท ดังนี้ นี้เป็นพุทธาจิณณะ (ความ
เคยประพฤติมาของพระพุทธเจ้า) ข้อหนึ่งก่อน. ส่วนพระสาวกทั้งหลาย จะ
บอกลาหรือไม่บอกลาก็ตามย่อมหลีกไปได้ตามสบาย.
ยังมีพุทธาจิณณะแม้อื่นอีก คือ :- พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอยู่จำ
พรรษาปวารณาแล้ว ย่อมเสด็จไปสู่ที่จาริกในชนบททีเดียว เพื่อทรงสงเคราะห์
ประชาชน.